วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550

torritory (อาณาจักร) Sukhothai (สุโขทัย)

วัดเขาพระบาทน้อย และพระเจดีย์ (ไม้เครื่องบนบางส่วนหลงเหลืออยู่)


ประวัติ
เดิมที สุโขทัย เป็นสถานีการค้าของ
แคว้นละโว้ (ลวรัฐ) ของอาณาจักรขอม บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ กับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (ประเทศลาว) คาดว่าเริ่มตั้งเป็นสถานีการค้าในราวพุทธศักราช 1700 ในรัชสมัยของพระยาธรรมิกราช กษัตริย์ละโว้ โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถม เป็นผู้ปกครองและดูแลกิจการภายในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสวรรคต ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งเป็นคล้ายๆกับผู้ตรวจราชการจากลวรัฐ เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองสุโขทัย จึงส่งผลให้ พ่อขุนผาเมือง (พระราชโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถม) เจ้าเมืองราด และ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ตัดสินพระทัยจะยึดดินแดนคืน การชิงเอาอำนาจจากผู้ครองเดิมคือ อาณาจักรขอม เมื่อปี พ.ศ. 1781 และสถาปนาเอกราช ให้กรุงสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานีของชาวไทย โดยไม่ขึ้นตรงกับรัฐใด
และ
พ่อขุนผาเมือง ก็กลับยกเมืองสุโขทัย ให้พ่อขุนบางกลางหาวครอง พร้อมทั้ง พระแสงขรรค์ชัยศรี และพระนาม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงพระราชทานให้พ่อขุนผาเมืองก่อนหน้านี้ โดยคาดว่า เหตุผลคือพ่อขุนผาเมืองมีพระนางสิขรเทวีพระมเหสี (ราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) ซึ่งพระองค์เกรงว่าชาวสุโขทัยจะไม่ยอมรับ แต่ก็กลัวว่าทางขอมจะไม่ไว้ใจจึงมอบพระนามพระราชทาน และพระแสงขรรค์ชัยศรี ขึ้นบรมราชาภิเษก พ่อขุนบางกลางหาว ให้เป็นกษัตริย์ เพื่อเป็นการตบตาราชสำนักขอม

อาณาจักรสุโขทัย
หลังจากมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี และมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์แล้ว พระองค์ทรงดูแลพระราชอาณาจักร และบำรุงราษฏรเป็นอย่างดี
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่สาม
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถทั้งในด้านนิรุกติศาสตร์ การปกครอง กฎหมาย วิศวกรรม ศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น ผลงานของพระองค์ที่ปรากฏให้เห็น อาทิ ศิลาจารึกที่ค้นพบในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่อธิบายถึงความเป็นมา ลีลาชีวิตของชาวสุโขทัยโบราณ น้ำพระทัยของพระมหากษัตริย์ การพิพากษาอรรถคดี ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผลงานทางวิศวกรรมชลประทาน คือ เขื่อนสรีดภงค์ที่เป็นการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามแล้ง มีการทำท่อส่งน้ำจากตัวเขื่อนมาใช้ในเมือง
พระมหากษัตริย์ที่ทรงทำนุบำรุงศาสนามากที่สุดคือ
พระเจ้าลิไท ในรัชสมัยของพระองค์มีการสร้างวัดมากที่สุด กษัตริย์พระองค์สุดท้ายคือ พระมหาธรรมราชาที่ 4 หรือ บรมปาล และถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ในที่สุด
1. ด้านเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า…" และ "...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว..." ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบการเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ เช่นสังคมไทยส่วนใหญ่ในชนบทปัจจุบัน
2. ด้านสังคม ความเชื่อ และศาสนา การใช้ชีวิตของผู้คนในสมัยสุโขทัยมีความอิสระเสรี มีเสรีภาพอย่างมากเนื่องจากผู้ปกครองรัฐให้อิสระแก่ไพร่ฟ้า และปกครองผู้ใต้ปกครองแบบพ่อกับลูก ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกว่า "…ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…"
ด้านความเชื่อและศาสนา สังคมยุคสุโขทัยประชาชนมีความเชื่อทั้งเรื่องวิญญาณนิยม (Animism) ไสยศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 3 ว่า "…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎิวิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดพงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง ป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขระพุงผี เทพยาดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยว เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย…"
ส่วนด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราช ในวันพระ จะมีภิกษุเทศนาสั่งสอน ณ ลานธรรมในสวนตาล โดยใช้
พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ เป็นอาสนะสงฆ์ ในการบรรยายธรรมให้ประชาชนฟัง ยังผลให้ประชาชนในยุคนี้นิยมปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีการถือศีล โอยทานกันเป็นปกติวิสัย ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น
3. ด้านการปกครอง ด้านการปกครองสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้ ในแนวราบ จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้ ในแนวดิ่ง ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ
1) พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็จะเรียก "ลูกเจ้า"
2) ลุกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
3) ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า)
4) ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)

ความสัมพันธ์กับต่างชาติ
จักรวรรดิมองโกล
กองทัพ
จักรวรรดิมองโกลแผ่แสนยานุภาพโดดเด่นที่สุดเป็นช่วงเดียวกับการตั้งกรุงสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1800 (1257) ซึ่งเป็นอาณาจักรของตนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก
หลักฐานสำคัญในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 2 แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับราชวงศ์มองโกลได้สรุปไว้ว่ากุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการเตรียมทัพไปปราบปรามแคว้นต่างๆ ทางใต้ มีสุโขทัย ละโว้ สุมาตรา และอื่นๆ เป็นเมืองขึ้น ปรากฏว่าขุนนางชื่อ เจี่ย หลู่ น่าต๋าไม่เห็นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดนต่างๆ อ่อนน้อมยอมสนับสนุนก่อน หากไม่ยอมจึงยกกองทัพไปโจมตี นี่คือเหตุผลประการหนึ่งที่กุบไลข่านทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และขอให้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักมองโกล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกล ปราฏว่ามีอาณาจักรในดินแดนต่างๆ กว่า 20 อาณาจักรยอมรับข้อเสนอ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย (ช่วงระหว่างประมาณ พ.ศ. 1822 - 1825)
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 12 เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงคณะทูตชุดแรกจากอาณาจักรมองโกลในสมัยกุบไลข่าน เดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) ทูตคณะนี้นำโดยเหอจี จี่ นายทหารระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะ แต่ขณะนังเรือแล่นผ่านฝั่งทะเลอาณาจักรจามปา ได้ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต ผลจากคณะทูตนี้ถูกประหารชีวิตก่อนจะเดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัยทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่ทราบว่ามองโกลพยายามส่งทูตมาติดต่อ
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 17 กล่าวถึงคณะทูตมองโกลชุดที่สองเดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. 1835 (ค.ศ. 1292) ภายหลังจากข้าหลวงใหญ่ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของมณฑลกวางตุ้ง ได้ส่งคนอัญเชิญพระราชสาส์นอักษรทองคำของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยไปยังนครหลวงข่านมาลิก (ต้าตู หรือปักกิ่งปัจจุบัน) คณะทูตมองโกลชุดที่สองได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของกุบไลข่านให้พ่อขุนรามคำแหงเสร็จไปเฝ้า พระบรมราชโองการนี้แสดงให้เห็นนโยบายของอาณาจักรมองโกลเรียกร้องให้ผู้นำของอาณาจักรต่างๆ ไปเฝ้ากุบไลข่าน แต่มิได้บังคับให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 18 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตชุดที่สามมาสุโขทัย โดยได้อัญเชิญพระบรมราชโองการให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า หากมีเหตุขัดข้องให้ส่งโอรสหรือพระอนุชาและอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน ซึ่งปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ส่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปแทน
อาณาจักรล้านนา
ในปี พ.ศ. 1839
พญามังราย(พ.ศ. 1804 - 1854) ได้มีคำสั่งให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าเจียงใหม่(เชียงใหม่) เพื่อที่จะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของอาณาจักรล้านนา ครั้งนั้นพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพญางำเมือง ได้เสด็จมาช่วยด้วย
อาณาจักรอยุธยา
หลังจากมีการก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา แรกนั้นสุโขทัยและอยุธยาไม่ได้เป็นไมตรีต่อกัน แต่ด้วยชัยภูมิที่เหมาะสมกว่า ทำให้อยุธยาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับปัญหาการเมืองภายในของสุโขทัยมิได้เป็นไปโดยสงบ มีการแย่งชิงราชสมบัติกันระหว่าง พระยาบานเมือง พระยาราม ยังผลให้อยุธยาสบโอกาสเข้าแทรกแทรงกิจการภายใน ในรัชกาลนี้มีการรับไมตรีจากอยุธยาโดยการสมรสระหว่าง
ราชวงศ์พระร่วง กับราชวงศ์สุพรรณภูมิ โดยมีพระราเมศวร ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นราชบุตรจากสองราชวงศ์
จนสิ้นรัชกาล
พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) พระยายุทธิษฐิระซึ่่งเดิมทีอยู่ศรีสัชนาลัย ได้เข้ามาครองเมืองสุโขทัย และเมื่อแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านภิภพ เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้น พระยายุทธิษฐิระ เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ได้ครองเพียงสุโขทัย เนื่องด้วย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเคยดำริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จะชุบเลี้ยงพระยายุทธิษฐิระให้ได้เป็นใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2011 พระยายุทธิษฐิระจึงเอาใจออกห่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปขึ้นกับ พระยาติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนา จากพระยา เป็น พระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนามพระยาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็นพระเจ้าติโลกราช
หลังจากที่พระยายุทธิษฐิระ นำสุโขทัยออกจากอยุธยาไปขึ้นกับล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงเสด็จจากกรุงศรีอยุธยา กลับมาพำนัก ณ เมืองสรลวงสองแคว พร้อมทั้งสร้างกำแพงและค่ายคู ประตู หอรบ แล้วจึงสถาปนาขึ้นเป็นเมือง พระพิษณุโลกสองแคว เป็นราชธานีฝ่ายเหนือของอาณาจักรแทนสุโขทัย ในเวลาเจ็ดเดือนให้หลัง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงตีเอาสุโขทัยคืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมืองเหนือยังไม่เข้าสู่ภาวะที่น่าไว้วางใจ จึงทรงตัดสินพระทัยพำนักยังนครพระพิษณุโลกสองแควต่อจนสิ้นรัชกาล ส่วนทางอยุธยานั้น ทรงได้สถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระราชโอรส เป็นพระมหาอุปราช ดูแลอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายใต้
ด้วยความที่เป็นคนละประเทศมาก่อน และมีสงครามอยู่ด้วยกัน ชาวบ้านระหว่างสุโขทัยและอยุธยา จึงมิได้ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงต้องแยกปกครอง โดยพระมหากษัตริย์อยุธยา จะทรงสถาปนาพระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือพระญาติ อันมีเชื้อสายสุโขทัย ปกครองพิษณุโลกในฐานะราชธานีฝ่ายเหนือ และควบคุม
หัวเมืองเหนือทั้งหมด
พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง(ตาก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ชัยบุรี ศรีเทพ) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขมัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ
ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้้แต่แม่น้ำแควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน


รายพระนามพระมหากษัตริย์สุโขทัย
ราชวงศ์นำถุม (ราชวงศ์ผาเมือง)
พ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองราชย์ปีใดไม่ปรากฏ - พ.ศ. 1724
ขอมสบาดโขลญลำพง
ขอมสบาดโขลญลำพง (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1780)
ราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ.ศ. 1780- สวรรคตปีใดไม่ปรากฏ (ประมาณ พ.ศ. 1801) )
พ่อขุนบานเมือง (หลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต - พ.ศ. 1822)
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ. 1822 - พ.ศ. 1842) (ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า พ่อขุนรามราช)
ปู่ไสสงคราม (รักษาราชการชั่วคราวแทน พญาเลอไท ซึ่งขณะนั้นไม่ได้อยู่ในเมืองสุโขทัย)
พญาเลอไท (พ.ศ. 1842 - พ.ศ. 1833)
พญางั่วนำถุม (พ.ศ. 1833 - พ.ศ. 1890) [1]
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) (พ.ศ. 1890 - พ.ศ. 1913)
พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท) (พ.ศ. 1913 - พ.ศ. 1931) (ตกเป็นประเทศราชของอยุธยาในปี พ.ศ. 1921)
พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไท) (พ.ศ. 1931 - พ.ศ. 1962)
พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) (พ.ศ. 1962 - พ.ศ. 1981)
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระยายุทธิษฐิระ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2011) (เป็นประเทศราชล้านนาในปี พ.ศ. 2011) [2]
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 2011 - พ.ศ. 2031) (สถาปนา และประทับ ณ พิษณุโลก จนสิ้นรัชกาล)
พระเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2031 - พ.ศ. 2034) (ตำแหน่งพระมหาอุปราช)
พระอาทิตยวงศ์ (พระหน่อพุทธางกูร) (พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2072) (ตำแหน่งพระมหาอุปราช)
พระไชยราชา (พ.ศ. 2072 - พ.ศ. 2077) (ตำแหน่งพระมหาอุปราช)
ราชวงศ์สุโขทัย
พระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) (พ.ศ. 2077 - พ.ศ. 2111) (เจ้าราชธานีฝ่ายเหนือ)
พระนเรศวร (หลังเสด็จกลับจากหงสาวดี - พ.ศ. 2127) (ตำแหน่งพระมหาอุปราช) [3]

หมายเหตุ
พญางั่วนำถุม น่าจะมาจากสายราชวงศ์นำถุม มากกว่าราชวงศ์พระร่วง ----> อภิปราย
พระยายุทธิษฐิระ ครองศรีสัชนาลัย ซึ่งขณะนั้นมีฐานะเป็นเมืองสำคัญเหนือกว่าพิษณุโลก
ราชการสงครามในสมัยสมเด็จพระนเรศวร หอมรดกไทย กองทัพบก

territory (อาณาจักร) เมืองละโว้

ปรางค์สามยอด ลพบุรี
เมืองละโว้ ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางฝั่งตะวันออก เมื่อเริ่มแรกในพุทธศตวรรษที่ 12 ก็มีคติความเชื่อเป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาทเหมือนกับบ้านเมืองทางฝั่งตะวันตก และได้ขยายอาณาเขตขึ้นไปตามลำน้ำปิง โดยจัดตั้งเมืองหริภุญไชยหรือที่ภายหลังคือ เมืองลำพูน ขึ้นบนที่ราบหว่างหุบเขาอันกว้างใหญ่ที่ต้นแม่น้ำปิงเป็นเมืองสืบต่อมา และถ่ายทอดอารยธรรมทางพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทให้แก่ราชวงศ์พระเจ้ามังราย ที่เข้ามาครอบครองในภายหลัง

พระปรางค์สามยอด
เมืองละโว้ได้รับคติทางศาสนาพราหมณ์จากราชอาณาจักรขอมกัมพูชา และพุทธศาสนาแบบมหายานที่ขึ้นมาจากทางทิศใต้ ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 คติความเชื่อทั้งสองนั้นเข้ากันได้และส่งเสริมการปกครองบ้านเมืองที่รวมกันเป็นราชอาณาจักรใหญ่ ดังนั้น เมืองละโว้จึงเป็นเมืองที่มีเครือข่ายความสัมพันธ์ไปถึงบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งลุ่มแม่น้ำมูล คือเมืองพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมา เมืองพนมรุ้ง ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ไปจนถึงเมืองพระนครหลวง ในกัมพูชา ซึ่งทั้งเมืองพิมายและเมืองพนมรุ้งต่างก็มีศิลาจารึกที่แสดงอำนาจความเป็นอิสระของการเป็นเมืองหลวงปกครองดินแดนในละแวกใกล้เคียงในระดับหนึ่งด้วย ส่วนเมืองละโว้นั้น ในช่วงเวลานี้มีเอกสารประเภทตำนานที่แสดงถึงการแตกแยก ที่ทำให้เมืองหริภุญไชยซึ่งมีเมืองในอาณัติ คือ นครเขลางค์ แยกออกไปปกครองตนเองโดยอิสระ เป็นอีกแว่นแคว้นหนึ่งที่ต้นแม่น้ำปิง
ในระยะเวลาต่อมา เมืองละโว้มีบทบาทก่อให้เกิดเมืองหลวงขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองสุโขทัย ที่ขึ้นไปจัดตั้งไว้ที่ตอนบนของที่ราบฝั่งแม่น้ำยม เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 18 แต่หลังจากนั้นไม่นาน สุโขทัยก็แยกตัวออกเป็นอิสระอีกแว่นแคว้นหนึ่งเช่นเดียวกับเมืองหริภุญไชย เรื่องราวในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 วัดศรีชุม เรื่องพ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพง อาจเป็นเรื่องราวตอนที่สุโขทัยแยกตัวออกจากเมืองละโว้ก็ได้ ส่วนเมืองละโว้นั้น ก็ได้มีการขยับขยายราชธานีลงทางใต้ ตั้งบ้านเมืองในบริเวณที่แม่น้ำ 3 สายคือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกัน และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเมืองสุพรรณภูมิ ต่อมาก็ได้จัดตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงในที่สุด
เมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งที่อาจกล่าวว่าอยู่ในขอบเขตใกล้ทะเล
อ่าวไทย คือ เมืองศรีมโหสถแห่งลุ่มน้ำบางปะกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในเขตอำเภอศรีมโหสถ (โคกปีบ) จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเมืองที่มีศาสนสถานเป็นจำนวนมาก โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองนี้อาจสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 10 แต่โบราณสถานที่เป็นของเมืองนี้อย่างแน่นอน และเป็นศาสนสถานของพุทธศาสนาแบบเถรวาทนั้น คือ รอยพระพุทธบาทคู่ที่วัดสระมรกต ซึ่งอยู่นอกเมืองทางทิศใต้ สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 14 เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองศูนย์กลางปกครองดินแดนใกล้เคียงสืบต่อกันมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 จึงได้กลายเป็นเมืองในราชอาณาจักรขอมกัมพูชา ซึ่งมีศูนย์กลางที่เมืองพระนครหลวง และมีหลักฐานแสดงการนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน

territory (อาณาจักร) ตามพรลิงค์

พระบรมธาตุเจดีย์
อาณาจักรตามพรลิงค์ หรือ ตัมพะลิงค์ หรือ อาณาจักรนครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 7–19)

อาณาจักรตามพรลิงค์
มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช(อาจจะเป็นบริเวณบ้านท่าเรือ หรือบ้านพระเวียง) อยู่ทางด้านเหนือ ของ
อาณาจักรลังกาสุกะ(บริเวณปัตตานี) มีอาณาเขตทางตะวันออก และตะวันตกจรดทะเลอันดามันถึงบริเวณที่เรียกว่าทะเลนอก ซึ่งเป็นบริเวณจังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน คำว่า ตามพ เป็นภาษาบาลี แปลว่า ทองแดง ส่วนลิงค์ เป็นเครื่องหมายบอกเพศ เขียนเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า Tambalinga หรือ Tanmaling หรือ Tamballinggam จีนเรียก ตันเหมยหลิว หรือโพ-ลิง หรือโฮลิง(แปลว่าหัวแดง) บางทีเรียกว่า เชียะโท้ว(แปลว่าดินแดง) อาณาจักรตามพรลิงค์ มีกษัตริย์สำคัญคือพระเจ้าศรีธรรมา
โศกราช และพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ซึ่งทรงสามารถรวบรวมพวกมลายู และแขกทมิฬเข้าไว้ใต้อำนาจ
อาณาจักรตามพรลิงค์นี้เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่
พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ไปยังอาณาจักรสุโขทัยและดินแดนทั่วแหลมมลายู พระภิกษุจากนครศรีธรรมราชเคยเดินทางไปสืบพระพุทธศาสนาถึงประเทศลังกา

พุทธศตวรรษที่ 7
อาณาจักรตามพรลิงค์ ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนัน ต่อมาใน พ.ศ.1318 อาณาจักรตามพรลิงค์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย และพ.ศ.1568 ได้ถูกพวกโจฬะจากอินเดียยกทัพมารุกราน ในพ.ศ. 1658 ได้มีการส่งคณะทูตไปเฝ้าพระเจ้ากรุงจีนราชวงศ์ซ้อง ที่เมืองไคฟง

พุทธศตวรรษที่ 16
อาณาจักรตามพรลิงค์ได้ส่งไพร่พลไปช่วย
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 สร้างเมืองนครธม พ.ศ.1813 อาณาจักรตามพรลิงค์ได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรลังกาสุกะ พ.ศ.1837 เมืองนครศรีธรรมราชได้เข้ารวมอยู่ในอาณาจักรสุโขทัย และ พ.ศ.1893 เมืองนครศรีธรรมราชได้เข้ารวมกับอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรตามพรลิงค์นี้ประกอบด้วยเมือง 12 เมือง คือ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันทายสมอ สงขลา ตะกั่วป่า และครหิหรือกระบุรี ใช้สัตว์ประจำปีเป็นตราประจำเมือง เช่น สายบุรีใช้ตราหนู ปัตตานีใช้ตราวัว กลันตันใช้ตราเสือ ปาหังใช้ตรากระต่าย เรียงลำดับไป สำหรับเมืองบันไทสมอ ซึ่งใช้ตราลิงนั้น นักโบราณคดีบางท่าน เช่น หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี สันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองกระบี่ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อเมืองกระบี่ในปัจจุบัน
จดหมายเหตุจีน
ระบุว่า นครโฮลิง(ตามพรลิงค์) ส่งทูตไปเฝ้าพระเจ้ากรุงจีนใน พ.ศ.1291,1310,1311,1356,1358 และพ.ศ.1361 ต่อมาได้มีการเรียกชื่ออาณาจักรตามพรลิงค์ใหม่ว่า อาณาจักรศิริธรรม ภายหลังเมื่ออยู่ในอำนาจอาณาจักรสุโขทัยได้เปลี่ยนมาเป็น เมืองศรีธรรมราช

territory (อาณาจักร) ศรีวิชัย



จุดเริ่มต้นของชื่ออาณาจักรศรีวิชัยมาจากการอ่านศิลาจารึกหลักที่ 23 ซึ่งมีศักราชกำกับว่าปีพุทธศักราช 1318 ที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทยในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชหรือสุราษฎร์ธานี จารึกมีข้อความที่กล่าวถึง พระเจ้ากรุงศรีวิชัย และเมื่อนำไปประกอบกับบันทึกของภิกษุอี้จิง (I-Ching) ซึ่งได้ได้เดินโดยทางเรือจากเมืองกวางตุ้งมาศึกษาพระธรรมวินัยในปี พ.ศ.1214 ได้กล่าวถึงเมื่อเดินทางเรือมาได้ 20 วัน ได้แวะอาณาจักรโฟชิ (Fo-Shih) ท่านได้แวะศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอยู่ 6 เดือนก่อนที่จะเดินทางไปอินเดีย หลังจากศึกษาที่อินเดียอยู่ 10 ปี ได้กลับมาที่โฟชิอีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นอาณาจักร ชิลิโฟชิ (Shih-li-Fo-Shih) ไปแล้ว ศาสตราจารย์ ยอร์จ เซเดย์ สรุปว่าอาณาจักรเชลิโฟชิ ก็คือ อาณาจักรศรีวิชัยอันเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์ ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
นักโบราณคดีหลายท่านมีความเห็นสอดคล้องกับศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดย์ เนื่องจากได้พบศิลาจารึก 8 หลักบนเกาะสุมาตรา มีอยู่ 2 หลัก กำหนดอายุในช่วงเดียวกับการเดินทางมาถึงของภิกษุอี้จิง อย่างไรก็ตามนักวิชาการ เช่น ราเมชจันทร์ มาชุมดาร์ ควอริทช์-เวลส์ และหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่าศูนย์กลางของ ศรีวิชัยควรจะอยู่บนคาบสมุทรมาเลย์ โดยเฉพาะหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่า จารึกที่กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัยที่พบที่ไชยา สุราษฎร์ธานี นั้น เป็นจารึกภาษาสันสกฤตซึ่งตรงกับบันทึกของภิกษุอี้จิง ในขณะที่จารึกที่พบบนเกาะสุมาตราเป็นภาษามลายูโบราณ และเมื่อพิจารณาถึงการเดินเรือเพียง 20 วัน ของภิกษุอี้จิงควรถึงแค่เมืองไชยา สุราษฎร์ธานี และคงไม่ผ่านเส้นศูนย์สูตรไปถึงเกาะสุมาตรา รวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ได้พบโบราณวัตถุ โบราณสถาน ซึ่งมีลักษณะที่เรียว่า ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย กำหนดอายุในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18
ลักษณะศิลปะแบบศรีวิชัยส่วนมากเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน จึงมักพบพระรูปพระโพธิสัตว์ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ไวโรจนะ และศิลปะวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ในลัทธิไวษณพนิกาย นอกจากนั้นยังพบร่องรอยของสถาปัตยกรรมตลอดจนโบราณสถานในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ ทั้งในปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา และคาบสมุทรมาเลย์ทางภาคใต้ของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ยังเป็นประเด็นของการศึกษาค้นคว้าจาก นักวิชาการยังมีข้อถกเถียงกัน 2 ประเด็นที่สำคัญคือ
1. รูปแบบทางการเมือง เมืองต่าง ๆ บนคาบสมุทรหรือหมู่เกาะต่างมีพัฒนาการและมีความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ในลักษณะที่เป็นสมาพันธรัฐ ที่มีศูนย์กลางของอำนาจที่เปลี่ยนไปตามการผันแปรทางการเมืองและเศรษฐกิจ
2. รูปแบบทางศิลปวัฒนธรรม เมืองต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกัน คือ การนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงออกด้วยรูปแบบที่เรียกว่า ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบโดยกว้างจากปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาจนถึงคาบสมุทรมาเย์และทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับศรีวิชัยคือ ศรีวิชัย ไม่ใช่ชื่ออาณาจักรที่มีศูนย์กลางของอำนาจในทางการเมืองและควบคุมเศรษฐกิจอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งเพียงแห่งเดียว แต่ศรีวิชัยเป็นชื่อกว้าง ๆ ทางศิลปะ และวัฒนธรรมของบ้านเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลแถบคาบสมุทร กลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้นต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกันคือ การนับถือพุทธศาสนามหายานและมีรูปแบบศิลปกรรมแบบศรีวิชัยเช่นเดียวกัน แว่นแคว้นและบ้านเมืองทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะเกี่ยวข้องกันในลักษณะของสหพันธรัฐที่มีศูนย์กลางอำนาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรทางเศรษฐกิจ
ความสำคัญของศรีวิชัยที่ปรากฏจากจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์ถังคือเป็นศูนย์กลางการค้าขายสินค้าข้ามสมุทรทางฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก ผ่านช่องแคบมะละกา ดังนั้นจึงได้พบ ลูกปัดจากดินแดนทางตะวันตกและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งพบเรื่อยลงมาทั้งที่เกาะสุมาตราและทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่ในที่สุดความรุ่งเรื่องทางการค้าของศรีวิชัยก็ลดลงเมื่อจีนได้พัฒนาเรือที่ค้าขายและทำการค้าขายโดยตรงกับบ้านเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเลตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ทำให้เมืองทางแถบคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทยรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับทางภาคใต้ของประเทศไทย พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นบ้านเมืองและแคว้นหรือรัฐร่วมสมัยอาณาจักรศรีวิชัยคือ (สุจิตต์ วงษ์เทศ และคณะ, 2531 : 58-70) แคว้นไชยา มีขอบเขตตั้งแต่อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอเมือง และอำเภออื่น ๆ ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีไชยาเป็นศูนย์กลาง พบศาสนสถานและศิลปกรรมหลายแห่ง เช่น ที่วัดแก้วไชยา พระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่าง ๆ แคว้นนครศรีธรรมราช มีขอบเขตในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อที่ปรากฏตามหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ คือ ตามพรลิงค์ แคว้นสทิงพระมีขอบเขตจากบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาถึงจังหวัดพัทลุง พบร่องรอยโบราณศิลปวัตถุสถานที่นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา แคว้นปัตตานี มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา พบร่องรอยเมืองท่าที่สำคัญคือตรังและเมืองตะกั่วป่า
จุดเริ่มต้นของชื่ออาณาจักรศรีวิชัยมาจากการอ่านศิลาจารึกหลักที่ 23 ซึ่งมีศักราชกำกับว่าปีพุทธศักราช 1318 ที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทยในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชหรือสุราษฎร์ธานี จารึกมีข้อความที่กล่าวถึง พระเจ้ากรุงศรีวิชัย และเมื่อนำไปประกอบกับบันทึกของภิกษุอี้จิง (I-Ching) ซึ่งได้ได้เดินโดยทางเรือจากเมืองกวางตุ้งมาศึกษาพระธรรมวินัยในปี พ.ศ.1214 ได้กล่าวถึงเมื่อเดินทางเรือมาได้ 20 วัน ได้แวะอาณาจักรโฟชิ (Fo-Shih) ท่านได้แวะศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอยู่ 6 เดือนก่อนที่จะเดินทางไปอินเดีย หลังจากศึกษาที่อินเดียอยู่ 10 ปี ได้กลับมาที่โฟชิอีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นอาณาจักร ชิลิโฟชิ (Shih-li-Fo-Shih) ไปแล้ว ศาสตราจารย์ ยอร์จ เซเดย์ สรุปว่าอาณาจักรเชลิโฟชิ ก็คือ อาณาจักรศรีวิชัยอันเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์ ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
นักโบราณคดีหลายท่านมีความเห็นสอดคล้องกับศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดย์ เนื่องจากได้พบศิลาจารึก 8 หลักบนเกาะสุมาตรา มีอยู่ 2 หลัก กำหนดอายุในช่วงเดียวกับการเดินทางมาถึงของภิกษุอี้จิง อย่างไรก็ตามนักวิชาการ เช่น ราเมชจันทร์ มาชุมดาร์ ควอริทช์-เวลส์ และหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่าศูนย์กลางของ ศรีวิชัยควรจะอยู่บนคาบสมุทรมาเลย์ โดยเฉพาะหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่า จารึกที่กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัยที่พบที่ไชยา สุราษฎร์ธานี นั้น เป็นจารึกภาษาสันสกฤตซึ่งตรงกับบันทึกของภิกษุอี้จิง ในขณะที่จารึกที่พบบนเกาะสุมาตราเป็นภาษามลายูโบราณ และเมื่อพิจารณาถึงการเดินเรือเพียง 20 วัน ของภิกษุอี้จิงควรถึงแค่เมืองไชยา สุราษฎร์ธานี และคงไม่ผ่านเส้นศูนย์สูตรไปถึงเกาะสุมาตรา รวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ได้พบโบราณวัตถุ โบราณสถาน ซึ่งมีลักษณะที่เรียว่า ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย กำหนดอายุในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18
ลักษณะศิลปะแบบศรีวิชัยส่วนมากเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน จึงมักพบพระรูปพระโพธิสัตว์ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ไวโรจนะ และศิลปะวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ในลัทธิไวษณพนิกาย นอกจากนั้นยังพบร่องรอยของสถาปัตยกรรมตลอดจนโบราณสถานในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ ทั้งในปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา และคาบสมุทรมาเลย์ทางภาคใต้ของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ยังเป็นประเด็นของการศึกษาค้นคว้าจาก นักวิชาการยังมีข้อถกเถียงกัน 2 ประเด็นที่สำคัญคือ
1. รูปแบบทางการเมือง เมืองต่าง ๆ บนคาบสมุทรหรือหมู่เกาะต่างมีพัฒนาการและมีความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ในลักษณะที่เป็นสมาพันธรัฐ ที่มีศูนย์กลางของอำนาจที่เปลี่ยนไปตามการผันแปรทางการเมืองและเศรษฐกิจ
2. รูปแบบทางศิลปวัฒนธรรม เมืองต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกัน คือ การนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงออกด้วยรูปแบบที่เรียกว่า ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบโดยกว้างจากปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาจนถึงคาบสมุทรมาเย์และทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับศรีวิชัยคือ ศรีวิชัย ไม่ใช่ชื่ออาณาจักรที่มีศูนย์กลางของอำนาจในทางการเมืองและควบคุมเศรษฐกิจอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งเพียงแห่งเดียว แต่ศรีวิชัยเป็นชื่อกว้าง ๆ ทางศิลปะ และวัฒนธรรมของบ้านเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลแถบคาบสมุทร กลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้นต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกันคือ การนับถือพุทธศาสนามหายานและมีรูปแบบศิลปกรรมแบบศรีวิชัยเช่นเดียวกัน แว่นแคว้นและบ้านเมืองทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะเกี่ยวข้องกันในลักษณะของสหพันธรัฐที่มีศูนย์กลางอำนาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรทางเศรษฐกิจ
ความสำคัญของศรีวิชัยที่ปรากฏจากจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์ถังคือเป็นศูนย์กลางการค้าขายสินค้าข้ามสมุทรทางฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก ผ่านช่องแคบมะละกา ดังนั้นจึงได้พบ ลูกปัดจากดินแดนทางตะวันตกและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งพบเรื่อยลงมาทั้งที่เกาะสุมาตราและทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่ในที่สุดความรุ่งเรื่องทางการค้าของศรีวิชัยก็ลดลงเมื่อจีนได้พัฒนาเรือที่ค้าขายและทำการค้าขายโดยตรงกับบ้านเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเลตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ทำให้เมืองทางแถบคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทยรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับทางภาคใต้ของประเทศไทย พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นบ้านเมืองและแคว้นหรือรัฐร่วมสมัยอาณาจักรศรีวิชัยคือ (สุจิตต์ วงษ์เทศ และคณะ, 2531 : 58-70) แคว้นไชยา มีขอบเขตตั้งแต่อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอเมือง และอำเภออื่น ๆ ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีไชยาเป็นศูนย์กลาง พบศาสนสถานและศิลปกรรมหลายแห่ง เช่น ที่วัดแก้วไชยา พระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่าง ๆ แคว้นนครศรีธรรมราช มีขอบเขตในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อที่ปรากฏตามหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ คือ ตามพรลิงค์ แคว้นสทิงพระมีขอบเขตจากบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาถึงจังหวัดพัทลุง พบร่องรอยโบราณศิลปวัตถุสถานที่นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา แคว้นปัตตานี มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา พบร่องรอยเมืองท่าที่สำคัญคือตรังและเมืองตะกั่วป่า

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550

torritory (อาณาจักร) ทวารวดี

ธรรมจักรในสมัยทวารวดี
หลักฐานการค้นพบ
ปัจจุบันร่องรอยเมืองโบราณ รวมทั้งศิลปโบราณวัตถุสถานและจารึกต่างๆในสมัยทวารวดีนี้ พบเพิ่มขึ้นอีกมากมาย และที่สำคัญได้พบกระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยโดยไม่มีหลักฐานของการแผ่อำนาจทางการเมืองจากจุดศูนย์กลางเฉกเช่นรูปแบบการปกครองแบบอาณาจักรทั่วไป เช่น
ภาคเหนือ : ที่
จังหวัดลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : พบเกือบทุกจังหวัด
ภาคตะวันออก : ที่
จังหวัดปราจีนบุรี และ จังหวัดสระแก้ว
ภาคใต้ : ที่
จังหวัดปัตตานี
ภาคกลาง : กระจายอยู่ตามลุ่มแม่น้ำสำคัญต่างๆ เช่น
แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยา
จากการศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศพบเมืองโบราณสมัยนี้ถึง 63 เมืองด้วยกัน นอกจากนี้จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดียังพบว่าเมืองโบราณแทบทุกแห่งจะมีลักษณะของการต่อเนื่องทางวัฒนธรรมจากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พัฒนาการขึ้นมาสู่ช่วงสมัย ทวารวดี เมื่อมีการติดต่อกับอารยธรรมอินเดีย
ดังนั้นทฤษฎีของนักวิชาการรุ่นก่อนโดยเฉพาะความเชื่อเรื่องรูปแบบการปกครองแบบอาณาจักร และเมืองศูนย์กลางจึงเปลี่ยนไป ว่าน่าจะอยู่ในขั้นตอนของเมืองก่อนรัฐ(Proto-State)

อาณาเขตของอาณาจักร
ในรูปของเมืองเบ็ดเสร็จหรือเมืองที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ในตัวเองทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความเชื่อศาสนา หากจะมีอำนาจทางการเมืองก็หมายถึงมีอำนาจเหนือเมืองบริวารหรือชุมชนหมู่บ้านรอบๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น เมืองใหญ่เหล่านี้แต่ละเมืองจะมีอิสระต่อกัน และเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กันเพราะผลจากการติดต่อค้าขายและรับวัฒนธรรมจากอินเดียโดยเฉพาะทางด้านศาสนาพุทธแบบ
หินยาน รวมทั้งภาษา และรูปแบบศิลปกรรมแบบเดียวกัน
วัฒนธรรมทวารวดีเริ่มเสื่อมลงราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 เมื่ออิทธิพลวัฒนธรรมแบบขอมหรือ
เขมรโบราณจากประเทศกัมพูชาที่มีคติความเชื่อทางศาสนาและรูปแบบศิลปกรรมที่แตกต่างออกไปเข้ามาแทนที่
แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องทวารวดียังต้องการคำตอบอีกมากไม่ว่าปัญหาเรื่องของอาณาจักรหรือเมืองอิสระ ปัญหาเมืองศูนย์กลาง ปัญหาอาณาเขต ปัญหาชนชาติเจ้าของจะเป็นชาวมอญจริงหรือไม่ หรือแม้แต่ชื่อ ทวารวดี จะเป็นชื่ออาณาจักร หรือชื่อกษัตริย์ หรือชื่อราชวงศ์หนึ่ง หรืออาจเป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มเมืองเจ้าของวัฒนธรรมแบบเดียวกันเฉกเช่นกลุ่มศรีวิชัยทางภาคใต้ ก็ยังเป็นปัญหาที่ต้องขบคิดและหาหลักฐานมาพิสูจน์กันต่อไป
สภาพสังคมทวารวดีนั้นลักษณะไม่น่าจะเป็นอาณาจักร คงเป็นเมืองขนาดต่าง ๆ ซึ่งพัฒนาขยายตัวจากสังคมครอบครัว และสังคมหมู่บ้านมาเป็นสังคมเมืองที่มีชุมชนเล็ก ๆ ล้อมรอบ มีหัวหน้าปกครอง มีการแบ่งชนชั้นทางสังคม นอกจากนี้ยังมีการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองต่อเมืองหรือรัฐต่อรัฐ ไม่ใช่ความสัมพันธ์โดยการเมือง แต่โดยการค้า ศาสนา และความเหมือนกันทางวัฒนธรรม
เศรษฐกิจของชุมชนทวารวดีคงจะมีพื้นฐานทางการเกษตรกรรม มีการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างเมือง หรือการค้าขายแลกเปลี่ยนกับชุนชนภายนอก ชุมชนทวารวดีเริ่มต้นแนวความเชื่อแบบพุทธศาสนา ในลัทธิเถรวาท ควบคู่ไปกับการนับถือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ทั้ง
ลัทธิไศวนิกาย และลัทธิไวษณพนิกาย โดยศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาฮินดูจะแพร่หลายในหมู่ชมชนชั้นปกครอง ในระยะหลังเมื่อเขมรเข้าสู่สมัยเมืองนคร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมทวารวดีก็ถูกครอบงำโดยเขมร และในตอนท้ายคติความเชื่อได้เปลี่ยนแปลงไป
ชาวทวารวดีได้มีการพัฒนาการทางเทคโนโลยีดันก้าวหน้า จากการจัดระบบชลประทานทั้งภายในและภายนอกเมือง มีการขุดคลอง สระน้ำ การทำคันบังคับน้ำหรือทำนบ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถ่ายทอดสู่ชนรุ่นหลังใน
สมัยลพบุรี และสมัยอาณาจักรสุโขทัย ในด้านการคมนาคม คนในสมัยทวารวดีมีการสัญจรทางน้ำและทางบก นอกเหนือจากการติดต่อกับชาวเรือที่เดินทางค้าขายแล้วยังปรากฏร่องรอยของคันดินซึ่งสันนิฐานว่าอาจเป็นถนนเชื่อมระหว่างเมือง นอกจากนี้หลักฐานทางโบราณคดีที่พบไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยหรือประติมากรรมล้วนแล้วแต่แสดงความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และศิลปกรรม เช่น เทคนิคตัดศิลาแลง การสกัดหิน การทำประติมากรรม การหล่อสำริด การหลอมแก้ว ฯลฯ.

ธรรมจักรในสมัยทวารวดี

โบราณสถานสมัยทวารวดี
สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้แม้ว่าชื่อทวารวดีจะเป็นชื่อของสิ่งใดก็ตาม นั่นคือหลักฐานโบราณสถานโบราณวัตถุที่พบมากมาย ซึ่งล้วนมีลักษณะฝีมือทางศิลปกรรมที่คล้ายคลึงกันทุกแห่งทุกภาค ไม่ว่าจะเป็นงานประติมากรรมที่ส่วนใหญ่เป็น
พระพุทธรูป พระพิมพ์ ธรรมจักร ใบเสมา ภาพปูนปั้น และภาพดินเผาประดับที่มีลักษณะเฉพาะ หรือ งานสถาปัตยกรรมอันได้แก่ สถูปเจดีย์และวิหารที่มีแผนผัง รูปแบบ วัสดุ เทคนิคการสร้าง ตลอดจนคติทางศาสนาเเบบเดียวกัน
ซึ่งหากพิจารณาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะของความสัมพันธ์ร่วมกันเช่นนี้เป็นเพราะตำแหน่งที่ตั้งของเมืองแต่ละเมืองสามารถติดต่อถึงกันได้สะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ โดยเฉพาะเมืองในที่ราบภาคกลาง มักตั้งใกล้ชายฝั่งทะเลเดิม มีร่องรอยทางน้ำติดต่อกับเมืองในภูมิภาคภายในและยังมีทางน้ำเข้าออกกับฝั่งทะเลโดยตรงด้วย อันสะดวกต่อการติดต่อภายในกันเองและติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวอินเดียได้เป็นอย่างดี เมืองโบราณสมัยทวารวดีโดยทั่วไป มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่พื้นที่ตั้งและผังเมือง คือมักตั้งอยู่บนดอนในที่ลุ่ม ใกล้ทางน้ำ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมมุมมนหรือค่อนข้างกลม มีคูน้ำคันดินล้อมรอบหนึ่งหรือสองชั้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้หรือป้องกันน้ำท่วม โบราณสถานขนาดใหญ่มักตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมืองเช่น เมืองโบราณนครปฐม มี
วัดพระประโทน และเจดีย์จุลประโทนตั้งอยู่กึ่งกลางเมือง เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี มีโบราณสถานหมายเลข 18ในวัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งอยู่กึ่งกลางเมือง เมืองในของเมืองโบราณศรีเทพ มีโบราณสถานเขาคลังใน ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมือง เป็นต้น
โบราณสถานแทบทั้งหมดใช้อิฐเป็นวัสดุหลักในก่อสร้าง อาจมีการใช้
ศิลาแลงบ้างแต่ไม่ใช้หินก่อสร้างเลย อิฐเผาอย่างดีไส้สุกตลอด เนื้ออิฐแข็งพอสมควร ส่วนยาวจะเท่ากับสองเท่าของความกว้าง ส่วนกว้างเป็นสองเท่าของความหนา อิฐมีขนาดใหญ่ ขนาด 32x16x8 เซนติเมตรขึ้นไป ผสมแกลบมาก เป็นแกลบข้าวเหนียวปลูก
การก่อใช้อิฐทั้งก้อน ไม่ขัดผิวแต่ก็ประณีต รอยต่ออิฐแนบสนิท สอด้วยดินบางๆ เป็นส่วนผสมของดินเหนียวละเอียด ผสมกับวัสดุยางไม้หรือน้ำอ้อย จนเหนียวคล้ายกาว ทำให้อิฐจับกันแน่นสนิทเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงถากเป็นลวดลาย แล้วปั้นปูนประดับ เนื่องจากสังคมทวารวดียอมรับพุทธศาสนาลัทธิ
เถรวาทจากอินเดียเป็นหลัก (พบหลักฐานเนื่องในศาสนาฮินดูด้วยแต่ไม่มากนัก) ทำให้สังคมทวารวดีโดยทั่วไปเป็นสังคมพุทธ ดังนั้นอาคารโบราสถานทั้งหลายจึงเป็นพุทธสถานแทบทั้งสิ้น โบราณสถานเหล่านี้แสดงอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะ และหลังคุปตะ และปาละเสนะตามลำดับ แต่ได้ดัดแปลงผสมผสานให้เข้ากับลักษณะท้องถิ่นจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน

[แก้] ประเภทและลักษณะของโบราณสถานสมัยทวารวดี
เชื่อกันว่าศิลปกรรมอินเดียได้มีอิทธิพลต่องานศิลปกรรมในดินแดนประเทศไทยมานานตั้งแต่ครั้ง
พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ (พ.ศ. 269-307) ที่ทรงส่งสมณทูต 9 สายออก เผยแพร่พระพุทธศาสนาทั่วประเทศและนอกประเทศอินเดีย และสมณทูตสายที่ 9 คือพระอุตตรเถระและพระโสณเถระผู้เดินทางมายังดินแดนชื่อสุวรรณภูมินั้น สันนิษฐานกันว่าน่าจะหมายถึง ดินแดนในประเทศไทยปัจจุบัน อันมีภาคกลางเป็นศูนย์กลางโดยเฉพาะที่เมืองนครปฐมโบราณ และยังเชื่อกันว่าเจดีย์เดิมองค์ในที่องค์พระปฐมเจดีย์สร้างครอบทับไว้ น่าจะเป็นเจดีย์ที่สร้างขี้นในสมัยนั้นโดยอาศัยการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกับเจดีย์สาญจีของอินเดีย ส่วนอาคารพุทธสถานอื่นๆที่ไม่เหลือปรากฏในปัจจุบัน อาจจะสร้างด้วยไม้จึงปรักหักพังไปหมด
ร่องรอยของโบราณสถานมาปรากฏหลักฐานแน่ชัดอายุเก่าที่สุดตั้งแต่สมัยทวารวดีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา ทุกแห่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพล
ศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ-หลังคุปตะและราชวงศ์ปาละราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 และ 14-16 ตามลำดับ โบราณสถานส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา กำหนดอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 เกือบทุกแห่งปรักหักพังเหลือแต่เฉพาะส่วนฐาน แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ ฐานสถูปเจดีย์พบมากที่สุดกระจายอยู่ตามเมืองโบราณต่างๆทุกแห่ง นอกนั้นเป็นฐานวิหาร พบน้อย และสีมาหรือหลักกำหนดเขตบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่ประกอบพิธีกรรมในศาสนาซึ่งมักพบตามเมืองโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สถูปเจดีย์
สำหรับความหมายของเจดีย์ ดูที่บทความหลัก :
เจดีย์
สถูปเจดีย์สมัยทวารวดี คงจะสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ให้เป็นอุเทสิกเจดีย์ (เพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์หรือบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว) มากที่สุด จากหลักฐานที่เหลืออยู่เพียงเฉพาะส่วนฐานนั้น สามารถแบ่งตามลักษณะแผนผังได้เป็น 4 รูปแบบใหญ่ๆ คือ ฐานรูปกลม ฐานรูปสี่เหลี่ยม ฐานรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม และฐานแปดเหลี่ยม หรือสามารถแบ่งตามรายละเอียดที่ต่างกันได้เป็น 13 รูปแบบย่อย ซึ่งแต่ละแบบล้วนแสดงวิวัฒนาการที่ สืบทอดจากต้นแบบในอินเดียเป็นระยะๆ และยังเป็นต้นแบบให้สถูปเจดีย์ในยุคต่อๆมาด้วย คือ
แบบที่ 1 สถูปเจดีย์ฐานกลม น่าจะเป็นแบบที่เก่าที่สุด รับอิทธิพลต้นแบบมาจากสถูปสาญจีของอินเดียเช่น โบราณสถานหมายเลข 3 (ภูเขาทอง) ที่
อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี สถูปกลมที่อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และพระปฐมเจดีย์องค์เดิม จังหวัดนครปฐม เป็นต้น ลักษณะการก่อสร้างใช้ดินแลงอัดหรือก่ออิฐ สถูปเจดีย์ลักษณะนี้น่าจะเหมือนต้นแบบ คือลักษณะเป็นครึ่งวงกลม มีเวทิกาหรือรั้วกั้นโดยรอบ บนองค์สถูปประดับด้วยหรรมิกาหรือบัลลังก์ และมีฉัตรซ้อนกันสามชั้น และอาจมีบันไดทางขึ้นเพื่อกระทำประทักษิณและมีประตูทางเข้าขนาดใหญ่สี่ทิศ (โตรณะ)
แบบที่ 2 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีองค์สถูปรูปกลมก่อข้างบน แต่ปัจจุบันสถูปกลมได้พังทลายหมด เช่น โบราณสถานหมายเลข 8,9,11และ15 ที่บ้านโคกไม้เดน
จังหวัดนครสวรรค์ โบราณสถานหมายเลข 11 ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และโบราณสถานหมายเลข 6,20และ23/2 ที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรีเป็นต้น สันนิษฐานว่าองค์สถูปเดิมน่าจะมีลักษณะคล้ายหม้อน้ำหรือบาตรคว่ำ ตอนบนประดับด้วยฉัตรเป็นชั้นๆ ปลายสุดมียอดรูปดอกบัวตูมและที่แท่น(หรรมิกา)ที่ตั้งก้านฉัตรมีคาถาเย ธมมา สลักอยู่
แบบที่ 3 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีองค์สถูปก่อข้างบน มีแนวบันไดเพียงด้านเดียว แนวบันไดบางครั้งก่ออิฐเป็นรูปอัฒจันทร์ เช่นโบราณสถานหมายเลข 13,16 ที่บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
แบบที่ 4 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองชั้น ฐานชั้นที่สองทำเป็นช่องๆให้สวยงาม เช่นโบราณสถานหมายเลข 4 ที่บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
แบบที่ 5 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ซ้อนทับบนฐานแปดเหลี่ยม เช่นโบราณสถานหมายเลข 7 และ10 ที่
บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
แบบที่ 6 สถูปเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม เช่นโบราณสถานหมายเลข 5 ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
แบบที่ 7 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองชั้น มีลานประทักษิณรอบ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วที่เว้นช่องประตูทางเข้าออกด้านทิศตะวันตกอีกชั้นหนึ่ง ที่ลานประทักษิณมีบันไดขึ้นลง 3 ด้าน(ยกเว้นทิศตะวันตก)เดิมอาจมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป พบที่โบราณสถานหมายเลข 2 ที่บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
แบบที่ 8 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อเก็จทุกด้าน ฐานแบ่งเป็นช่องๆใหญ่เล็กสลับกัน ประดับด้วยภาพปูนปั้นเล่าเรื่องชาดก และรูปสัตว์เช่น สิงห์ กินรี เช่นโบราณสถานหมายเลข 3 ที่บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
แบบที่ 9 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานล่างแต่ละด้านมีสถูปจำลองประดับที่มุมทั้งสี่ พบที่โบราณสถานหมายเลข 2 ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม
แบบที่ 10 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีมุขยื่น เหนือขึ้นไปเป็นสถูปกลม พบที่
บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
แบบที่ 11 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานมีช่องประดิษฐานพระพุทธรุปปูนปั้น ล้อมรอบด้วยลาน
ประทักษิณ เช่นโบราณสถานหมายเลข 1 ที่บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี
แบบที่ 12 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ย่อเก็จ ตั้งซ้อนอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมที่ใช้เป็นลานประทักษิณ ที่ลานมีบันไดยื่นทั้งสี่ทิศและมีอัฒจันทร์อยู่ทุกด้าน ท้องไม้ของลานประทักษิณมีเสาอิงแบ่งเป็นช่องประดับภาพชาดก องค์สถูปประดับด้วยพระพุทธรูปยืนในซุ้มแต่ละด้าน เช่น
เจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม
แบบที่ 13 สถูปเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมซ้อนสองชั้น ฐานแต่ละด้านทำเป็นช่องแบบซุ้มพระด้านละสองซุ้ม นับเป็นแบบสวยพิเศษสุด พบที่โบราณสถานหมายเลข 13ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ฐานสถูปเหล่านี้สามารถเปรียบเทียบได้กับสถูปอินเดียสมัยคุปตะเป็นต้นมา และแม้องค์สถูปจะหักพังไปหมดแล้ว แต่อาจสันนิษฐานรูปทรงตามรูปจำลองหรือภาพสลักสถูปเจดีย์ที่พบในประเทศได้ว่ามีด้วยกัน 3 แบบใหญ่ๆ คือ
1. สถูปที่มีองค์ระฆังเป็นรูปโอคว่ำหรือครึ่งวงกลม มียอดเป็นกรวยแหลมเรียบอยู่ข้างบน ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยปาละ ซึ่งเจริญขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-17
2. สถูปที่มีองค์ระฆังคล้ายหม้อน้ำหรือบาตรคว่ำ ยอดทำเป็นแผ่นกลมเรียงซ้อนกันขึ้นไปตอนบน บนยอดสุดมีลูกแก้วหรือดอกบัวตูมประดับ ที่แท่น (หรรมิกา) ที่ตั้งฉัตรมีจารึกคาถา เย ธมมาอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาโดยรอบ
3. สถูปที่มีองค์ระฆังคล้ายหม้อน้ำ ยอดสถูปคล้ายกรวยแต่มีลักษณะเป็นปล้องๆ ซ้อนติดกัน

วิหาร
เป็นอาคารที่คู่มากับการสร้างวัดตั้งแต่
สมัยพุทธกาลในอินเดีย เดิมหมายถึงอาคารที่เป็น ที่อยู่ของพระภิกษุสงฆ์ ต่อมาเมื่อมีพระภิกษุเพิ่มขึ้นวิหารจึงเป็นที่ประชุมสังฆกรรม และใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปตัวแทนของพระพุทธองค์อันเป็นประธานของการประชุมนั้น
ในประเทศไทย วิหารพบตั้งแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 แต่พบไม่มากนัก มักตั้งหน้าสถูปเจดีย์เพื่อใช้เป็นที่กราบสักการะบูชาพระธาตุ ดังนั้นวิหารจึงสร้างไว้หน้าเจดีย์เสมอ จากการขุดค้นของ
กรมศิลปากรเมื่อพ.ศ. 2507 ที่วัดโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และที่โบราณสถานหมายเลข16 อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้พบพื้นอาคารปูอิฐและศิลาแลง มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ด้านหน้าเจดีย์ ผนังและหลังคาไม่ปรากฏคงเป็นเครื่องไม้ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวิหารที่สร้างสมัยแรกๆ แต่เนื่องจากพบน้อยเข้าใจว่าวิหารส่วนมากอาจจะสร้างด้วยไม้จึงผุพังไปหมด
อาคารที่คาดว่าน่าจะเป็นวิหารอีก พบที่เมืองศรีมโหสถ
อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี มีทั้งวิหารในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ วิหารในศาสนาพุทธมักอยู่นอกเมืองเช่นโบราณสถานหมายเลข 1, 5, 7 และ14 เป็นต้น ส่วนวิหารในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูมักสร้างอยู่ในเมืองเช่น โบราณสถานหมายเลข 10 และ 22/1-5 เป็นต้น แผนผังของอาคารส่วนใหญ่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเตี้ย ภายในมีแท่นประดิษฐานรูปเคารพ มีพื้นที่ว่างพอสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีทั้งวิหารผนังทึบและวิหารโถง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง วิหารยังพบอีกกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นวิหารที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะแบบราชวงศ์ปาละ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (มหาวิทยาลัยนาลันทา) ตามคติพุทธแบบมหายานลัทธิวัชรยานหรือตันตระที่กำลังแพร่หลายในขณะนั้น รูปแบบวิหารมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ
วิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานสูง เช่นวิหารวัดโขลง ที่คูบัว
จังหวัดราชบุรี มีบันไดขึ้นด้านทิศตะวันออกสู่ลานประทักษิณ ฐานประดับเสาอิงและซุ้ม แต่เดิมคงจะมีภาพปูนปั้นประดับอยู่
วิหารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน คือวิหารที่วัดพระเมรุ
จังหวัดนครปฐม มีฐานรองรับ มีมุขทางเข้าทั้งสี่ทิศตรงกับพระพุทธรูปสี่องค์ที่ประดิษฐานอยู่หน้าผนังทึบตันสี่ด้านภายในวิหาร
ใบสีมา หรือ ใบเสมา หมายถึง เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์ หรือเขตชุมนุมสงฆ์ เป็นเขตที่สงฆ์ทั้งหลายต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน เนื่องด้วยพระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดให้สงฆ์ต้องทำอุโบสถ ปวารณาและโดยเฉพาะการสวดปาฏิโมกข์ ซึ่งต้องสวดพร้อมกันเดือนละ 2 ครั้ง จึงทรงกำหนดเขตสีมาที่มีเครื่องหมาย (นิมิต) ที่เป็นที่ทราบกัน นิมิตที่ทรงกำหนดมี 8 อย่างได้แก่ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก ถนน แม่น้ำ และน้ำ และเขตสีมาที่สมบูรณ์ต้องมีขนาดใหญ่พอที่พระสงฆ์ 21 รูปเข้าไปนั่งหัตถบาสได้ แต่ไม่กว้างเกิน 3 โยชน์ แต่เดิมครั้งพุทธกาลเขตสีมาน่าจะกำหนดเพื่อแสดงเขตวัดหรืออารามคล้ายกำแพงวัดในปัจจุบันมิใช่กำหนดเฉพาะเขตอุโบสถเท่านั้น ต่อมาจึงมีการนำสีมามาปักรอบเป็นเขตอุโบสถแทนเพื่อเป็นการแสดงเขตสังฆกรรมชุมนุมสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะเริ่มเมื่อใดนั้นยังไม่อาจหาหลักฐานได้ การกำหนดนิมิตของสีมามีจุดกำหนดอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ 3 แห่งเป็นใช้ได้ จึงเกิดวงสีมาเป็นรูปต่างๆคือ รูปสามเหลี่ยม (สีมามีนิมิต 3 แห่ง) รูปสี่เหลี่ยมต่างๆ (สีมามีนิมิต 4 แห่ง) รูปตะโพน (สีมามีนิมิต 6 แห่ง)
สีมา พบตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยพบมากใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่บ้านกุดโง้ง จังหวัดชัยภูมิ ที่เมืองโบราณฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่บ้านตาดทอง จังหวัดยโสธร ที่วัดพุทธมงคล อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น สีมาทวารวดีพบว่ามีการปักรอบสถูปเจดีย์ด้วย และบ่อยครั้งไม่พบซากอาคารเข้าใจว่าอาคารเดิมอาจสร้างด้วยไม้จึงผุพังไป บางแห่งปัก 3 ใบและบางแห่งพบถึง 15 ใบ นอกจากนี้บางครั้งยังพบปักรอบเพิงหินธรรมชาติ เช่น ที่หอนางอุสา อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ซึ่งบริเวณนี้อาจเคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อผู้คนหันมานับถือศาสนาพุทธ จึงนำคติการใช้หินปักแบบ
วัฒนธรรมหินตั้งเข้าผสมกับคติทางศาสนา มีการปักสีมาขึ้นกลายเป็นวัดป่าหรืออรัญญวาสีไป สีมาสมัยทวารวดีพบหลายแบบทั้งเป็นแผ่นคล้ายเสมาปัจจุบัน เป็นเสากลมหรือแปดเหลี่ยมหรือรูปสี่เหลี่ยม โดยทั่วไปสลักจากหินทราย มีขนาดใหญ่สูงตั้งแต่ 0.80 - 3 เมตร มีภาพสลักโดยทั่วไปเป็นภาพสถูปยอดแหลม หรือสลักภาพเล่าเรื่องชาดก ภาพพุทธประวัติ และลายผักกูดก้านขด เป็นต้น