วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550

territory (อาณาจักร) ศรีวิชัย



จุดเริ่มต้นของชื่ออาณาจักรศรีวิชัยมาจากการอ่านศิลาจารึกหลักที่ 23 ซึ่งมีศักราชกำกับว่าปีพุทธศักราช 1318 ที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทยในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชหรือสุราษฎร์ธานี จารึกมีข้อความที่กล่าวถึง พระเจ้ากรุงศรีวิชัย และเมื่อนำไปประกอบกับบันทึกของภิกษุอี้จิง (I-Ching) ซึ่งได้ได้เดินโดยทางเรือจากเมืองกวางตุ้งมาศึกษาพระธรรมวินัยในปี พ.ศ.1214 ได้กล่าวถึงเมื่อเดินทางเรือมาได้ 20 วัน ได้แวะอาณาจักรโฟชิ (Fo-Shih) ท่านได้แวะศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอยู่ 6 เดือนก่อนที่จะเดินทางไปอินเดีย หลังจากศึกษาที่อินเดียอยู่ 10 ปี ได้กลับมาที่โฟชิอีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นอาณาจักร ชิลิโฟชิ (Shih-li-Fo-Shih) ไปแล้ว ศาสตราจารย์ ยอร์จ เซเดย์ สรุปว่าอาณาจักรเชลิโฟชิ ก็คือ อาณาจักรศรีวิชัยอันเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์ ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
นักโบราณคดีหลายท่านมีความเห็นสอดคล้องกับศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดย์ เนื่องจากได้พบศิลาจารึก 8 หลักบนเกาะสุมาตรา มีอยู่ 2 หลัก กำหนดอายุในช่วงเดียวกับการเดินทางมาถึงของภิกษุอี้จิง อย่างไรก็ตามนักวิชาการ เช่น ราเมชจันทร์ มาชุมดาร์ ควอริทช์-เวลส์ และหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่าศูนย์กลางของ ศรีวิชัยควรจะอยู่บนคาบสมุทรมาเลย์ โดยเฉพาะหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่า จารึกที่กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัยที่พบที่ไชยา สุราษฎร์ธานี นั้น เป็นจารึกภาษาสันสกฤตซึ่งตรงกับบันทึกของภิกษุอี้จิง ในขณะที่จารึกที่พบบนเกาะสุมาตราเป็นภาษามลายูโบราณ และเมื่อพิจารณาถึงการเดินเรือเพียง 20 วัน ของภิกษุอี้จิงควรถึงแค่เมืองไชยา สุราษฎร์ธานี และคงไม่ผ่านเส้นศูนย์สูตรไปถึงเกาะสุมาตรา รวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ได้พบโบราณวัตถุ โบราณสถาน ซึ่งมีลักษณะที่เรียว่า ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย กำหนดอายุในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18
ลักษณะศิลปะแบบศรีวิชัยส่วนมากเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน จึงมักพบพระรูปพระโพธิสัตว์ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ไวโรจนะ และศิลปะวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ในลัทธิไวษณพนิกาย นอกจากนั้นยังพบร่องรอยของสถาปัตยกรรมตลอดจนโบราณสถานในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ ทั้งในปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา และคาบสมุทรมาเลย์ทางภาคใต้ของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ยังเป็นประเด็นของการศึกษาค้นคว้าจาก นักวิชาการยังมีข้อถกเถียงกัน 2 ประเด็นที่สำคัญคือ
1. รูปแบบทางการเมือง เมืองต่าง ๆ บนคาบสมุทรหรือหมู่เกาะต่างมีพัฒนาการและมีความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ในลักษณะที่เป็นสมาพันธรัฐ ที่มีศูนย์กลางของอำนาจที่เปลี่ยนไปตามการผันแปรทางการเมืองและเศรษฐกิจ
2. รูปแบบทางศิลปวัฒนธรรม เมืองต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกัน คือ การนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงออกด้วยรูปแบบที่เรียกว่า ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบโดยกว้างจากปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาจนถึงคาบสมุทรมาเย์และทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับศรีวิชัยคือ ศรีวิชัย ไม่ใช่ชื่ออาณาจักรที่มีศูนย์กลางของอำนาจในทางการเมืองและควบคุมเศรษฐกิจอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งเพียงแห่งเดียว แต่ศรีวิชัยเป็นชื่อกว้าง ๆ ทางศิลปะ และวัฒนธรรมของบ้านเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลแถบคาบสมุทร กลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้นต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกันคือ การนับถือพุทธศาสนามหายานและมีรูปแบบศิลปกรรมแบบศรีวิชัยเช่นเดียวกัน แว่นแคว้นและบ้านเมืองทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะเกี่ยวข้องกันในลักษณะของสหพันธรัฐที่มีศูนย์กลางอำนาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรทางเศรษฐกิจ
ความสำคัญของศรีวิชัยที่ปรากฏจากจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์ถังคือเป็นศูนย์กลางการค้าขายสินค้าข้ามสมุทรทางฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก ผ่านช่องแคบมะละกา ดังนั้นจึงได้พบ ลูกปัดจากดินแดนทางตะวันตกและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งพบเรื่อยลงมาทั้งที่เกาะสุมาตราและทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่ในที่สุดความรุ่งเรื่องทางการค้าของศรีวิชัยก็ลดลงเมื่อจีนได้พัฒนาเรือที่ค้าขายและทำการค้าขายโดยตรงกับบ้านเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเลตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ทำให้เมืองทางแถบคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทยรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับทางภาคใต้ของประเทศไทย พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นบ้านเมืองและแคว้นหรือรัฐร่วมสมัยอาณาจักรศรีวิชัยคือ (สุจิตต์ วงษ์เทศ และคณะ, 2531 : 58-70) แคว้นไชยา มีขอบเขตตั้งแต่อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอเมือง และอำเภออื่น ๆ ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีไชยาเป็นศูนย์กลาง พบศาสนสถานและศิลปกรรมหลายแห่ง เช่น ที่วัดแก้วไชยา พระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่าง ๆ แคว้นนครศรีธรรมราช มีขอบเขตในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อที่ปรากฏตามหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ คือ ตามพรลิงค์ แคว้นสทิงพระมีขอบเขตจากบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาถึงจังหวัดพัทลุง พบร่องรอยโบราณศิลปวัตถุสถานที่นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา แคว้นปัตตานี มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา พบร่องรอยเมืองท่าที่สำคัญคือตรังและเมืองตะกั่วป่า
จุดเริ่มต้นของชื่ออาณาจักรศรีวิชัยมาจากการอ่านศิลาจารึกหลักที่ 23 ซึ่งมีศักราชกำกับว่าปีพุทธศักราช 1318 ที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทยในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชหรือสุราษฎร์ธานี จารึกมีข้อความที่กล่าวถึง พระเจ้ากรุงศรีวิชัย และเมื่อนำไปประกอบกับบันทึกของภิกษุอี้จิง (I-Ching) ซึ่งได้ได้เดินโดยทางเรือจากเมืองกวางตุ้งมาศึกษาพระธรรมวินัยในปี พ.ศ.1214 ได้กล่าวถึงเมื่อเดินทางเรือมาได้ 20 วัน ได้แวะอาณาจักรโฟชิ (Fo-Shih) ท่านได้แวะศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอยู่ 6 เดือนก่อนที่จะเดินทางไปอินเดีย หลังจากศึกษาที่อินเดียอยู่ 10 ปี ได้กลับมาที่โฟชิอีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นอาณาจักร ชิลิโฟชิ (Shih-li-Fo-Shih) ไปแล้ว ศาสตราจารย์ ยอร์จ เซเดย์ สรุปว่าอาณาจักรเชลิโฟชิ ก็คือ อาณาจักรศรีวิชัยอันเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์ ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
นักโบราณคดีหลายท่านมีความเห็นสอดคล้องกับศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดย์ เนื่องจากได้พบศิลาจารึก 8 หลักบนเกาะสุมาตรา มีอยู่ 2 หลัก กำหนดอายุในช่วงเดียวกับการเดินทางมาถึงของภิกษุอี้จิง อย่างไรก็ตามนักวิชาการ เช่น ราเมชจันทร์ มาชุมดาร์ ควอริทช์-เวลส์ และหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่าศูนย์กลางของ ศรีวิชัยควรจะอยู่บนคาบสมุทรมาเลย์ โดยเฉพาะหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่า จารึกที่กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัยที่พบที่ไชยา สุราษฎร์ธานี นั้น เป็นจารึกภาษาสันสกฤตซึ่งตรงกับบันทึกของภิกษุอี้จิง ในขณะที่จารึกที่พบบนเกาะสุมาตราเป็นภาษามลายูโบราณ และเมื่อพิจารณาถึงการเดินเรือเพียง 20 วัน ของภิกษุอี้จิงควรถึงแค่เมืองไชยา สุราษฎร์ธานี และคงไม่ผ่านเส้นศูนย์สูตรไปถึงเกาะสุมาตรา รวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ได้พบโบราณวัตถุ โบราณสถาน ซึ่งมีลักษณะที่เรียว่า ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย กำหนดอายุในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18
ลักษณะศิลปะแบบศรีวิชัยส่วนมากเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน จึงมักพบพระรูปพระโพธิสัตว์ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ไวโรจนะ และศิลปะวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ในลัทธิไวษณพนิกาย นอกจากนั้นยังพบร่องรอยของสถาปัตยกรรมตลอดจนโบราณสถานในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ ทั้งในปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา และคาบสมุทรมาเลย์ทางภาคใต้ของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ยังเป็นประเด็นของการศึกษาค้นคว้าจาก นักวิชาการยังมีข้อถกเถียงกัน 2 ประเด็นที่สำคัญคือ
1. รูปแบบทางการเมือง เมืองต่าง ๆ บนคาบสมุทรหรือหมู่เกาะต่างมีพัฒนาการและมีความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ในลักษณะที่เป็นสมาพันธรัฐ ที่มีศูนย์กลางของอำนาจที่เปลี่ยนไปตามการผันแปรทางการเมืองและเศรษฐกิจ
2. รูปแบบทางศิลปวัฒนธรรม เมืองต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกัน คือ การนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงออกด้วยรูปแบบที่เรียกว่า ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบโดยกว้างจากปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาจนถึงคาบสมุทรมาเย์และทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับศรีวิชัยคือ ศรีวิชัย ไม่ใช่ชื่ออาณาจักรที่มีศูนย์กลางของอำนาจในทางการเมืองและควบคุมเศรษฐกิจอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งเพียงแห่งเดียว แต่ศรีวิชัยเป็นชื่อกว้าง ๆ ทางศิลปะ และวัฒนธรรมของบ้านเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลแถบคาบสมุทร กลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้นต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกันคือ การนับถือพุทธศาสนามหายานและมีรูปแบบศิลปกรรมแบบศรีวิชัยเช่นเดียวกัน แว่นแคว้นและบ้านเมืองทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะเกี่ยวข้องกันในลักษณะของสหพันธรัฐที่มีศูนย์กลางอำนาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรทางเศรษฐกิจ
ความสำคัญของศรีวิชัยที่ปรากฏจากจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์ถังคือเป็นศูนย์กลางการค้าขายสินค้าข้ามสมุทรทางฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก ผ่านช่องแคบมะละกา ดังนั้นจึงได้พบ ลูกปัดจากดินแดนทางตะวันตกและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งพบเรื่อยลงมาทั้งที่เกาะสุมาตราและทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่ในที่สุดความรุ่งเรื่องทางการค้าของศรีวิชัยก็ลดลงเมื่อจีนได้พัฒนาเรือที่ค้าขายและทำการค้าขายโดยตรงกับบ้านเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเลตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ทำให้เมืองทางแถบคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทยรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับทางภาคใต้ของประเทศไทย พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นบ้านเมืองและแคว้นหรือรัฐร่วมสมัยอาณาจักรศรีวิชัยคือ (สุจิตต์ วงษ์เทศ และคณะ, 2531 : 58-70) แคว้นไชยา มีขอบเขตตั้งแต่อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอเมือง และอำเภออื่น ๆ ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีไชยาเป็นศูนย์กลาง พบศาสนสถานและศิลปกรรมหลายแห่ง เช่น ที่วัดแก้วไชยา พระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่าง ๆ แคว้นนครศรีธรรมราช มีขอบเขตในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อที่ปรากฏตามหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ คือ ตามพรลิงค์ แคว้นสทิงพระมีขอบเขตจากบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาถึงจังหวัดพัทลุง พบร่องรอยโบราณศิลปวัตถุสถานที่นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา แคว้นปัตตานี มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา พบร่องรอยเมืองท่าที่สำคัญคือตรังและเมืองตะกั่วป่า

ไม่มีความคิดเห็น: